เมื่อวันที่ 14-16 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา ตัวแทนจาก สถาบันฟีโนมแห่งชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เข้าร่วมงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติสาขาวิชาชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล ครั้งที่ 9: “BMB 360°: Emerging Trends in Biochemistry & Molecular Biology Research” ณ โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ กรุงเทพฯ ซึ่งมีนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกเข้าร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์

ในโอกาสนี้ ผศ.ดร.จุฑารพ เพชระบูรณิน ผู้อำนวยการสถาบันฟีโนมแห่งชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับเกียรติเป็นเป็น วิทยากรบรรยายพิเศษ (Invited Speaker) ในหัวข้อ “From Molecules to Systems: Harnessing Computational and Systems Medicine for Next-Generation Biochemical Discoveries” โดยเนื้อหาการบรรยายครั้งนี้กล่าวถึงการประยุกต์ใช้แนวคิดการแพทย์ระบบ (systems medicine) เพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างไมโครไบโอม การเผาผลาญ และการเกิดโรค โดยเฉพาะในกรณีมะเร็งท่อน้ำดี ซึ่งพบว่ามีความผิดปกติขององค์ประกอบจุลินทรีย์และกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย อย่างไรก็ตาม ความผิดปกติเหล่านี้สามารถฟื้นฟูได้เมื่อมีการเติมน้ำดีกลับเข้าสู่ระบบร่างกาย ซึ่งนำไปสู่แนวคิดใหม่ในการพัฒนาแนวทางการรักษาผลการวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของการวิเคราะห์แบบมัลติโอเมิกส์เชิงบูรณาการ (integrated multi-omics) ในการค้นหาตัวบางชี้ทางชีวภาพใหม่ และการวางกลยุทธ์ทางการแพทย์แม่นยำ (precision medicine) เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่เฉพาะเจาะจงและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ นักวิจัยจากสถาบันฟีโนมแห่งชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยังได้เข้าร่วมนำเสนอผลงาน ดังนี้

  • คุณณัฐวุฒิ ประทุมวัน การนำเสนอแบบปากเปล่า (Oral Presentation) ในหัวข้อ “Oxford Nanopore Sequencing Unveils Structural Variations and Their Functional Impacts in Cholangiocarcinoma Cell Lines with Varying Degrees of Differentiation”
  • คุณปรียากานต์ มลิกรอง การนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) ในหัวข้อ “Evaluation of Plasma Extraction Methods for Reliable Metabolite Quantification using ¹H-NMR Metabolomics.”

นอกจากนี้ ในการประชุมวิชาการครั้งนี้ ยังมีนักศึกษาจากโครงการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงด้านอุตสาหกรรมฐานชีวภาพแห่งอนาคตด้วยแพลตฟอร์มธัชวิทย์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นและเครือข่ายภาคเอกชน เข้าร่วมงานประชุมด้วย ได้แก่ นางกฤษฎี รัตนธรรมเมธี และ นางสาวสายคำ ไชยมงคล การเข้าร่วมประชุมของนักศึกษาในครั้งนี้นับเป็นโอกาสสำคัญในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางวิชาการกับผู้เชี่ยวชาญทั้งในระดับชาติและนานาชาติ อันจะเป็นรากฐานที่มั่นคงในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพในอนาคต

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *